รูปแบบการพัฒนาจุดเชื่อมต่อทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในต่างประเทศ
การศึกษาข้อมูลของต่างประเทศ จากคู่มือการออกแบบถนน AASHTO (2018) ของประเทศสหรัฐอเมริกา (United States of America) ใน Chapter 10 และคู่มือการออกแบบถนน The Austroads Guide to Road Design (2015) ของประเทศออสเตรเลีย (Australia) ใน Part 4C พบว่า มีการแบ่งรูปแบบการพัฒนาจุดเชื่อมต่อ
ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่คล้ายคลึงกัน โดยแบ่งรูปแบบออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. Service Interchange
เป็นการพัฒนาจุดเชื่อมต่อระหว่างถนนที่อยู่ในลำดับชั้นทางพิเศษ (Freeway or Motorway) หรือทางหลัก (Major Road) กับทางรอง (Minor Road) หรือถนนที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าทุกประเภท สำหรับในประเทศไทย มีตัวอย่างการพัฒนาจุดเชื่อมต่อประเภทนี้ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ทางแยกต่างระดับลาดกระบัง ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 กับถนนหลวงแพ่ง

จุดเชื่อมต่อโครงข่ายแบบ Service Interchange ระหว่าง Motorway M1 กับถนน A638
(ทางแยกต่างระดับ Flushdyke) เมือง Ossett ประเทศอังกฤษ

ตัวอย่างจุดเชื่อมต่อประเภท Service Interchange บริเวณทางแยกต่างระดับลาดกระบัง
2. System Interchange
เป็นการพัฒนาจุดเชื่อมต่อระหว่างถนนที่อยู่ในลำดับชั้นทางพิเศษ (Freeway or Motorway) หรือทางหลัก (Major road) เข้าด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่เขตเมือง โดยในประเทศไทย มีตัวอย่างการพัฒนาจุดเชื่อมต่อประเภทนี้ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ทางแยกต่างระดับวัดสลุด ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 กับทางพิเศษบูรพาวิถี

จุดเชื่อมต่อโครงข่ายแบบ System Interchange ระหว่าง Calder Highway (M79) กับ Western Ring Road (M80) เมืองMelbourne ประเทศออสเตรเลีย
